Product-baner
INVESTOR RELATIONS
นักลงทุนสัมพันธ์

คณะกรรมการตรวจสอบ

นาย สุชาติ ศุภพยัคฆ์

ประธาน
กรรมการตรวจสอบ
และกรรมการอิสระ

นาย วิระ มาวิจักขณ์

กรรมการตรวจสอบ
และกรรมการอิสระ

นาย ชนิตร ชาญชัยณรงค์

กรรมการตรวจสอบ
และกรรมการอิสระ

คณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีโครงสร้างที่เป็นอิสระจากผู้บริหารของบริษัทซึ่งประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นกรรมการที่เป็นอิสระจากผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท

คณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วยกรรมการ 3 ท่าน ดังนี้

1. นายสุชาติ ศุภพยัคฆ์

ประธานกรรมการตรวจสอบ

2. นาย วิระ มาวิจักขณ์

กรรมการตรวจสอบ

3. นายชนิตร ชาญชัยณรงค์

กรรมการตรวจสอบ

โดยมี นางสาวอรุณจิตร ตรีสิทธิเชษฐ์ เป็นเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ

คุณสุชาติ ศุภพยัคฆ์ และคุณชนิตร ชาญชัยณรงค์ เป็นกรรมการตรวจสอบที่มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงินของบริษัทได้ จากประสบการณ์และวุฒิการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการบริหาร การเงิน และบัญชี

ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ มีดังนี้

1. จัดทำกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบให้สอดคล้องกับขอบเขตความรับผิดชอบในการดำเนินงาน โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท และทบทวนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

2. สอบทานให้บริษัทฯ มีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเปิดเผยอย่างเพียงพอ โดยการประสานงานกับผู้สอบบัญชีภายนอก และผู้บริหารที่รับผิดชอบจัดทำรายงานทางการเงินทั้งรายไตรมาส และประจำปี คณะกรรมการตรวจสอบอาจเสนอแนะให้ผู้สอบบัญชีสอบทาน หรือตรวจสอบรายการใดๆ ที่เห็นว่าจำเป็น และเป็นเรื่องสำคัญใน ระหว่างการตรวจสอบบัญชีของบริษัทฯ ก็ได้

3. สอบทาน และให้ความเห็น รวมทั้งให้คำแนะนำแก่ฝ่ายจัดการ ให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในและระบบการตรวจสอบภายในที่เหมาะสมและมีประสิทธิผลร่วมกับผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอกและผู้ตรวจสอบภายในและพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้างหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน หรือหน่วยงานอื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน

4. สอบทาน และให้ความเห็นการปฏิบัติของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท และการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการพัฒนาที่ยั่งยืน ระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริต และระบบการแจ้งเบาะแส

5. พิจารณาคัดเลือกและเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ รวมถึงพิจารณาค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระ น่าเชื่อถือ ความเพียงพอของทรัพยากร และปริมาณงานตรวจสอบของสำนักงานตรวจสอบบัญชีนั้น ตลอดจนประสบการณ์ของบุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้ทำการตรวจสอบบัญชีของบริษัทฯ รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

6. พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท

7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย และคณะกรรมการตรวจสอบเห็นชอบด้วย เช่น ทบทวนนโยบายการบริหารทางการเงินและการบริหารความเสี่ยง ทบทวนการปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจของผู้บริหาร ทบทวนร่วมกับผู้บริหารของบริษัทฯ ในรายงานสำคัญๆ ที่ต้องเสนอต่อสาธารณชนตามที่กฎหมายบัญญัติ ได้แก่ บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร สอบทานความถูกต้องของเอกสารอ้างอิง แบบประเมินตนเองเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน เป็นต้น

8. กำกับดูแลหน่วยงานตรวจสอบภายใน หรือผู้ให้บริการตรวจสอบภายใน โดยสอบทานและให้ความเห็นชอบแผนงานตรวจสอบ ซึ่งสอดคล้องกับความเสี่ยงองค์กรและกลยุทธ์ของบริษัท รวมทั้งกำกับดูแลการปฏิบัติงานตรวจสอบให้เป็นไปตามแผน

9. จัดทำรายงานกิจกรรมของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ ซึ่งรายงานดังกล่าวลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ รายการดังกล่าวควรประกอบด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้
        9.1 ความเห็นเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำและเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงินของบริษัทถึงความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้
        9.2 ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯ
        9.3 ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบการบริหารความเสี่ยงของบริษัท
        9.4 เหตุผลที่เชื่อว่า ผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ เหมาะสมที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท
        9.5 ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ และข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ
        9.6 ความเห็นเกี่ยวกับรายการเกี่ยวโยง หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
        9.7 จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละท่าน
        9.8 ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร
        9.9 รายงานอื่นใดที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท

ในการปฏิบัติงานตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจเรียก สั่งการให้ฝ่ายบริหาร หัวหน้าหน่วยงาน หรือพนักงานของบริษัทที่เกี่ยวข้องมาให้ความเห็น ร่วมประชุม หรือส่งเอกสารตามที่เห็นว่าเกี่ยวข้องจำเป็น รวมทั้งแสวงหาความเห็นที่เป็นอิสระจากที่ปรึกษาทางวิชาชีพอื่นใดเมื่อเห็นว่าจำเป็นด้วยค่าใช้จ่ายของบริษัท

การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว คณะกรรมการตรวจสอบมีความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัทโดยตรง และให้คณะกรรมการตรวจสอบมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี ทั้งนี้ กรรมการตรวจสอบซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อไปตามที่คณะกรรมการบริษัทเห็นว่าเหมาะสม

คณะกรรมการตรวจสอบปฏิบัติงานภายในขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบตามคำสั่งของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินงานของบริษัทโดยตรงต่อผู้ถือหุ้น ผู้มีส่วนได้เสีย และบุคคลทั่วไป