Product-baner
INVESTOR RELATIONS
นักลงทุนสัมพันธ์

คณะกรรมการธรรมาภิบาล สรรหา และพิจารณาค่าตอบแทน

นาย สุชาติ ศุภพยัคฆ์

ประธานกรรมการธรรมาภิบาล สรรหา
และพิจารณาค่าตอบแทน

นาย สำรวย ทิชาชล

กรรมการธรรมาภิบาล สรรหา
และพิจารณาค่าตอบแทน

นาย ปิยะ จริยเศรษฐพงศ์

กรรมการธรรมาภิบาล สรรหา
และพิจารณาค่าตอบแทน

คณะกรรมการธรรมาภิบาล สรรหา และพิจารณาค่าตอบแทน

ประกอบด้วยกรรมการ 3 ท่าน ดังนี้

1. นายสุชาติ ศุภพยัคฆ์

ประธานกรรมการธรรมาภิบาล สรรหา และพิจารณาค่าตอบแทน

2. นายสำรวย ทิชาชล

กรรมการธรรมาภิบาล สรรหา และพิจารณาค่าตอบแทน

3. นายปิยะ จริยเศรษฐพงศ์

กรรมการธรรมาภิบาล สรรหา และพิจารณาค่าตอบแทน

โดยมีนางสาวพรพิมล ต่อไพบูลย์ เป็นเลขานุการคณะกรรมการธรรมาภิบาล สรรหา และพิจารณาค่าตอบแทน

ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการธรรมาภิบาล สรรหา และพิจารณาค่าตอบแทน มีดังนี้้
  1. คัดเลือกและสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะทำหน้าที่เป็นกรรมการของบริษัท หรือกรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ รวมถึงในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการของบริษัทว่างลง โดยใช้นิยามและคุณสมบัติของกรรมการเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาควบคู่กับ Board Skill Matrix และผลการประเมินประจำปี และเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการบริษัท ซึ่งจะนำเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นผู้แต่งตั้งกรรมการ
  2. พิจารณาและเสนอแนะให้คณะกรรมการบริษัท กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ รวมถึงกรรมการบริหารมีขนาดและองค์ประกอบที่เหมาะสมกับบริษัท โดยคำนึงถึงคุณสมบัติของคณะกรรมการที่ต้องประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ในด้านต่างๆ อย่างเหมาะสม ตาม Board Skill Matrix
  3. วางแผนและดำเนินการสรรหาผู้สืบทอดตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้บริหารระดับสูง เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทพิจารณา
  4. ทบทวนความเหมาะสมของโครงสร้างค่าตอบแทน และหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาค่าตอบแทนของคณะกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และพิจารณาความเหมาะสมของสัดส่วนค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน และผลประโยชน์อื่นๆ โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น ระดับค่าตอบแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน ผลการดำเนินงาน ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัท ตลอดจนมีความสอดคล้องกับผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
  5. พิจารณาการจ่ายค่าตอบแทนหรือผลประโยชน์อื่นๆ ของคณะกรรมการบริษัท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ตามความเหมาะสม โดยมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารพิจารณาการจ่ายค่าตอบแทน หรือผลประโยชน์อื่นๆ ของผู้บริหารระดับสูง และบุคคลากรอื่นๆ ให้เป็นไปตามงบประมาณที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทก่อนแล้ว
    ในส่วนค่าตอบแทน หรือผลประโยชน์อื่นๆ ของคณะกรรมการบริษัทจะนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทพิจารณาให้ความเห็น จากนั้นเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเพื่ออนุมัติเป็นขั้นสุดท้าย โดยคำนึงถึงปัจจัย 3 ประการ ดังนี้

     5.1 แนวปฏิบัติที่บริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันใช้ในการจ่ายค่าตอบแทน
     5.2 ผลประกอบการและขนาดธุรกิจของบริษัท
     5.3 ความรับผิดชอบ ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของกรรมการ

  1. พิจารณาค่าตอบแทนให้มีความเหมาะสม เพื่อจูงใจผู้บริหารในระยะยาวที่มีความสอดคล้องกับผลงานของบริษัท และผลประโยชน์ที่สร้างให้กับผู้ถือหุ้น
  2. พิจารณากำหนดแนวทาง เสนอแนะแนวนโยบาย แนวปฏิบัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณและจริยธรรมทางธุรกิจ ตามระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีต่อคณะกรรมการบริษัท และฝ่ายจัดการ เพื่อกำหนดเป็นระเบียบปฏิบัติของบริษัท ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติของบริษัทที่ได้มาตรฐาน และเป็นแนวทางที่ถูกต้อง
  3. กำกับดูแลให้คำปรึกษา ประเมินผล และทบทวนนโยบายการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณธุรกิจ เพื่อพัฒนาและยกระดับระบบการธรรมาภิบาลของบริษัท
  4. จัดทำรายงานกำกับดูแลกิจการ / ผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการธรรมาภิบาล สรรหา และพิจารณาค่าตอบแทนต่อคณะกรรมการบริษัทเป็นประจำ และเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปี และลงนามโดยประธานกรรมการธรรมาภิบาล สรรหา และพิจารณาค่าตอบแทน
  5. เปิดเผยนโยบายเกี่ยวกับการกำหนดค่าตอบแทน และเปิดเผยค่าตอบแทนในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการจัดทำรายงานการกำหนดค่าตอบแทน และความเห็นของคณะกรรมการธรรมาภิบาล สรรหา และพิจารณาค่าตอบแทน ไว้ในรายงานประจำปี
  6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย

     ทั้งนี้ ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว คณะกรรมการธรรมาภิบาล สรรหา และพิจารณาค่าตอบแทน มีความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัทโดยตรง

     ทั้งนี้ การมอบอำนาจให้แก่คณะกรรมการธรรมาภิบาล สรรหา และพิจารณาค่าตอบแทน จะไม่รวมถึงอำนาจในการอนุมัติรายการใดที่อาจมีความขัดแย้ง หรือรายการใดที่คณะกรรมการธรรมาภิบาล สรรหา และพิจารณาค่าตอบแทน หรือบุคคลที่เกี่ยวโยงกับคณะกรรมการธรรมาภิบาล สรรหา และพิจารณาค่าตอบแทน มีส่วนได้เสีย หรือผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใดขัดแย้งกับบริษัท ตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งการอนุมัติรายการในลักษณะดังกล่าว จะต้องเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท และ/หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อพิจารณาและอนุมัติรายการดังกล่าว ตามข้อบังคับของบริษัทหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ เว้นแต่เป็นการอนุมัติรายการที่เป็นลักษณะการดำเนินธุรกรรมการค้าปกติทั่วไปของบริษัทที่คณะกรรมการบริษัทกำหนดกรอบการพิจารณาไว้ชัดเจนแล้ว