Product-baner
INVESTOR RELATIONS
นักลงทุนสัมพันธ์

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และความยั่งยืนองค์กร

นายชนิตร ชาญชัยณรงค์     

ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง
และความยั่งยืนองค์กร

นายสมชาย คุลีเมฆิน

กรรมการบริหารความเสี่ยง
และความยั่งยืนองค์กร

นาย สำรวย ทิชาชล

กรรมการบริหารความเสี่ยง
และความยั่งยืนองค์กร

นางสาวพรพิมล ต่อไพบูลย์

กรรมการบริหารความเสี่ยง
และความยั่งยืนองค์กร

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และความยั่งยืนองค์กร

ประกอบด้วยกรรมการ 4 ท่าน ดังนี้

1. นายชนิตร ชาญชัยณรงค์     

ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง และความยั่งยืนองค์กร

2. นายสมชาย คุลีเมฆิน

กรรมการบริหารความเสี่ยง และความยั่งยืนองค์กร

3. นายสำรวย ทิชาชล

กรรมการบริหารความเสี่ยง และความยั่งยืนองค์กร

4. นางสาวพรพิมล ต่อไพบูลย์

กรรมการบริหารความเสี่ยง และความยั่งยืนองค์กร

มีผลตั้งแต่ 1 เมษายน 2568

โดยมีนางสาวพรพิมล ต่อไพบูลย์ เป็นเลขานุการคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และความยั่งยืนองค์กร

ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และความยั่งยืนองค์กร มีดังนี้้
  1. พิจารณาสอบทาน และนำเสนอนโยบาย และกรอบการบริหารความเสี่ยง และความยั่งยืนองค์กร ให้แก่คณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาอนุมัติ
  2. พิจารณาสอบทานและให้ความเห็นชอบความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) และนำเสนอคณะกรรมการบริษัทเพื่อรับทราบ
  3. กำกับดูแลกิจการการพัฒนาและการปฏิบัติตามนโยบายและกรอบการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บริษัท มีระบบบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพทั่วทั้งองค์กรและมีการปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่อง
  4. เชิญฝ่ายจัดการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ที่เห็นสมควรให้เข้าร่วมประชุมหรือขอ ข้อมูลในเรื่องที่เกี่ยวข้องตามความจำเป็น
  5. ว่าจ้างที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ความเห็น หรือคำแนะนำ หรือดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงและความยั่งยืนตามความจำเป็น
  6. แต่งตั้งและกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะทำงาน รวมถึงเลขานุการคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และความยั่งยืนตามความเหมาะสม มีอำนาจในการสั่งการ และควบคุมปฏิบัติงานคณะทำงานดังกล่าวเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านการบริหารความเสี่ยงและความยั่งยืนองค์กร ภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท
  7. กำกับดูแลให้การบริหารความยั่งยืนประสบความสำเร็จทั้งในระดับองค์กรและระดับโครงการ โดยมุ่งเน้นให้ฝ่ายจัดการและพนักงานให้ความสำคัญด้านการบริหาร และดำเนินธุรกิจด้วยความยั่งยืน (Sustainability Awareness) เพื่อเป็นปัจจัยหลัก ประกอบการตัดสินใจในการใช้ทรัพยากรและดำเนินการต่างๆอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อเป็นการพัฒนาและยกระดับการกำกับดูแลกิจการของบริษัทอย่างต่อเนื่อง
  8. สอบทานรายงานการบริหารความเสี่ยง และความยั่งยืนองค์กร เพื่อติดตามความเสี่ยงที่มีสาระสำคัญ และดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่า องค์กรมีการจัดการความเสี่ยงอย่างเพียงพอและเหมาะสม
  9. ประสานงานกับคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับความเสี่ยงที่สำคัญ และมีหน่วยงานตรวจสอบภายในเป็นผู้สอบทานเพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมต่อการจัดการความเสี่ยง รวมทั้งการนำระบบการบริหารความเสี่ยงมาปรับใช้อย่างเหมาะสมและมีการปฏิบัติตามทั่วทั้งองค์กร
  10. สนับสนุนการทำงานของคณะทำงานด้านความยั่งยืน (Sustainability Working Group) หรือหน่วยงานต่างๆ และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินกลยุทธ์ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนเกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร และสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดย ผลักดันให้มีการเชื่อมโยงและบูรณาการการทำงานและโครงการด้านความยั่งยืน ควบคู่ไปกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณธุรกิจ ให้เป็นที่เข้าใจและเกิดความตระหนักกับผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ ส่งผลให้มีการปฏิบัติตามแนวการพัฒนาอย่างยั่งยืน การกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณธุรกิจในบริษัท
  11. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบ จากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและความยั่งยืนองค์กร
  12. รายงานผลการปฏิบัติงานด้านความเสี่ยงและความยั่งยืนองค์กรที่สำคัญ ต่อคณะกรรมการบริษัทอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  13. ให้ความเห็นชอบต่อรายงานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและความยั่งยืน (Risk Management & Sustainability Report) ก่อน เปิดเผยต่อสาธารณะ
  14. พิจารณาทบทวนกฎบัตรคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และความยั่งยืนองค์กรอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของบริษัทและเป็นปัจจุบัน
  15. ประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเอง (Self-Assessment) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

    การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และความยั่งยืนองค์กรมีความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัทโดยตรง และให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และความยั่งยืนองค์กรมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี ทั้งนี้ กรรมการบริหารความเสี่ยง และความยั่งยืนองค์กรซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อไปตามที่คณะกรรมการบริษัทเห็นว่าเหมาะสม