Product-baner
INVESTOR RELATIONS
นักลงทุนสัมพันธ์

คณะกรรมการบริษัท

นาย วิระ มาวิจักขณ์

ประธานกรรมการ
กรรมการตรวจสอบ และกรรมการอิสระ

นาย สุชาติ ศุภพยัคฆ์

ประธานกรรมการตรวจสอบ
และกรรมการอิสระ

นาย ชนิตร ชาญชัยณรงค์

กรรมการตรวจสอบ
และกรรมการอิสระ

นาย สมชาย คุลีเมฆิน

รองประธานกรรมการ
และกรรมการ

นาย สำรวย ทิชาชล

กรรมการ

นาย ปิยะ จริยเศรษฐพงศ์

กรรมการ

นาง นิศาพร ศิริจันทนันท์

กรรมการ

คณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยกรรมการ 7 ท่าน ดังนี้
รายชื่อของคณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วย

1. นายวิระ มาวิจักขณ์

ประธานกรรมการ กรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระ

2. นายสมชาย คุลีเมฆิน

รองประธานกรรมการ

3. นายสำรวย ทิชาชล

กรรมการ

4. นายปิยะ จริยเศรษฐพงศ์

กรรมการ

5. นางนิศาพร ศิริจันทนันท์

กรรมการ

6. นายสุชาติ ศุภพยัคฆ์

ประธานกรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระ

7. นายชนิตร ชาญชัยณรงค์

กรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระ

โดยมี นางสาวอรุณจิตร ตรีสิทธิเชษฐ์ เป็นเลขานุการบริษัท

กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท

นายสมชาย คุลีเมฆิน, นายปิยะ จริยเศรษฐพงศ์, นายสำรวย ทิชาชล, นางนิศาพร ศิริจันทนันท์ สองในสี่คนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท

ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท มีดังนี้

        1. มีอำนาจหน้าที่จัดการ และดำเนินธุรกิจของบริษัทให้เป็นไปตามกฎหมายและการกำกับดูแล เพื่อให้มั่นใจว่า วัตถุประสงค์ เป้าหมาย กลยุทธ์ทั้งระยะสั้น ระยะยาว และ/หรือประจำปี ทิศทางการดำเนินงาน การบริหารการเงิน ความเพียงพอของสภาพคล่องทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้ การบริหารความเสี่ยงของบริษัท การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ การคิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสมปลอดภัย และสอดคล้องกับการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของบริษัท โดยรับผิดชอบกำกับ และควบคุมให้ฝ่ายบริหารในที่นี้ หมายรวมถึงประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะกรรมการบริหารปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

        2. กำกับดูแลนโยบายต่างๆ และหลักการกำกับดูแลกิจการที่กำหนดไว้ ให้กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกท่านถือปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น รักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น พร้อมทั้งดูแลการเปิดเผยข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน มีมาตรฐานและโปร่งใส เช่น การปฏิบัติตามจรรยาบรรณ นโยบายต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน การปฏิบัติต่อพนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย การปฏิบัติอย่างเป็นธรรม การเคารพสิทธิมนุษยชน ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยคำนึงถึงกรอบการรายงานที่ได้รับการยอมรับในประเทศ ดูแลการให้ข้อมูลที่เปิดเผยเป็นเรื่องที่สำคัญและสะท้อนการปฏิบัติที่จะนำไปสู่การสร้างคุณค่าแก่กิจการอย่างยั่งยืน ระบบรักษาความลับ/ดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน การติดตามรายการที่อาจมีความขัดแย้งของผลประโยชน์ การรายงานการมีส่วนได้เสีย เป็นต้น โดยรับผิดชอบกำกับและควบคุมให้ฝ่ายบริหารปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

        3. ดูแลให้ระบบการจัดทำรายงานทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูลสำคัญต่างๆ ถูกต้อง เพียงพอ ทันเวลา เป็นไปตามกฎเกณฑ์ มาตรฐาน และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง รวมถึงดูแลให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำและเปิดเผยข้อมูล มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีจำนวนเพียงพอ โดยบุคลากรดังกล่าว หมายรวมถึงประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดสายงานบัญชีและการเงิน ผู้จัดทำบัญชี ผู้ตรวจสอบภายใน เลขานุการบริษัท และนักลงทุนสัมพันธ์

        4. ดูแลให้ฝ่ายบริหารจัดให้มีหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบงานนักลงทุนสัมพันธ์ที่ทำหน้าที่ในการสื่อสารกับผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียอื่น เช่น นักลงทุน นักวิเคราะห์ ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม เท่าเทียมกัน และทันเวลา

        5. พิจารณากลั่นกรองวาระที่ต้องนำเสนอให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติในการประชุมผู้ถือหุ้น พร้อมทั้งทำความเห็นให้ผู้ถือหุ้นรับทราบประกอบการเสนอวาระให้ผู้ถือหุ้นพิจารณา และดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้นด้วยความเรียบร้อยโปร่งใส กำกับดูแลให้มั่นใจว่า ผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิของตนได้อย่างเหมาะสม

        6. ติดตามดูแลให้มีการบริหารทรัพยากรบุคคลที่สอดคล้องกับทิศทางและกลยุทธ์ของบริษัท สำหรับกรรมการบริษัท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้บริหาร และพนักงานในทุกระดับให้มีความรู้ ความสามารถ แรงจูงใจที่เหมาะสม และได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม เพื่อรักษาบุคลากรที่มีความสามารถของบริษัทให้คงไว้

        7. ดูแลให้มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกลไลอื่น เพื่อดูแลให้พนักงานมีการออมอย่างเพียงพอสำหรับรองรับการเกษียณ รวมทั้งสนับสนุนให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการเงิน การเลือกนโยบายการลงทุนที่สอดคล้องกับช่วงอายุและระดับความเสี่ยง โดยรับผิดชอบกำกับ และควบคุมให้ฝ่ายบริหารปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

        8. กำกับดูแลให้กรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหารได้รับการอบรม และพัฒนาความรู้ที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง ให้มีความรู้ คุณลักษณะที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย และให้มีแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan) ของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหารระดับสูง โดยมอบหมายให้คณะกรรมการธรรมาภิบาล สรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนรายงานผลการดำเนินงานตามแผนสืบทอดตำแหน่งต่อคณะกรรมการบริษัทต่อคณะกรรมการบริษัทอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

        9. กำกับดูแลให้กรรมการบริษัททุกท่านสามารถปฏิบัติหน้าที่และจัดสรรเวลาอย่างเพียงพอ และให้สามารถดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยคณะกรรมการบริษัทสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็น และดูแลให้เลขานุการบริษัทมีความรู้และประสบการณ์ที่เพียงพอเหมาะสม เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการบริษัท

        10. กำกับดูแลให้การสรรหาและคัดเลือกกรรมการมีกระบวนการที่โปร่งใส ชัดเจน ให้ได้คณะกรรมการที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับองค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทตามที่กำหนดไว้ เพื่อเสนอรายชื่อต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติ

        11. กำหนดให้มีการทบทวนกฎบัตร โครงสร้างของคณะกรรมการบริษัททั้งขนาด องค์ประกอบ สัดส่วนกรรมการอิสระ รวมถึงบทบาทหน้าที่เป็นประจำทุกปี เพื่อให้เหมาะสม และจำเป็นต่อการนำพาองค์กรสู่วัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักที่กำหนดไว้

        12. กำกับดูแลให้มีการกำหนดโครงสร้างค่าตอบแทนและการประเมินผลที่เหมาะสม ดังนี้
              • ในส่วนของคณะกรรมการบริษัท
              การเสนอค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัทให้ผู้ถือหุ้นอนุมัติ โดยคณะกรรมการธรรมาภิบาล สรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนรับผิดชอบพิจารณาเบื้องต้น จากนั้นคณะกรรมการบริษัทจะเป็นผู้พิจารณาให้โครงสร้างและอัตราค่าตอบแทนมีความเหมาะสมกับความรับผิดชอบ และจูงใจให้คณะกรรมการบริษัทนำพาองค์กรให้ดำเนินงานตามเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาว
              • ในส่วนของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
              มอบหมายให้คณะกรรมการธรรมาภิบาล สรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน กำหนดเกณฑ์การประเมินผล รวมถึงเป็นผู้ประเมินผลและพิจารณาค่าตอบแทน โดยให้ประธานคณะกรรมการบริหารเป็นผู้สื่อสารผลการพิจารณาและเรื่องที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติมให้แก่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารทราบเป็นประจำทุกปี
              ทั้งหมดนี้ ต้องมอบหมายแต่งตั้งให้กรรมการ คณะกรรมการชุดย่อยที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆ และ/หรือผู้บริหารให้มีอำนาจสามารถดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง แต่ให้อยู่ภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท เว้นแต่อำนาจในการดำเนินการจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อน เช่น
              1) เรื่องที่กฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
              2) การทำรายการใดๆที่กรรมการมีส่วนได้ส่วนเสีย และอยู่ในข่ายที่กฎหมาย หรือข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระบุให้ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
              ทั้งนี้ การตัดสินใจในเรื่องที่กรรมการมีส่วนได้ส่วนเสีย หรือมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใดกับบริษัท หรือบริษัทย่อย ให้กรรมการซึ่งมีส่วนได้เสียหรือมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ดังกล่าวไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น

        13. ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดเกี่ยวกับกิจการของบริษัทตามที่ผู้ถือหุ้นมอบหมาย

ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของประธานกรรมการบริษัท มีดังนี้
  1. กำกับดูแลให้คณะกรรมการบริษัทปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมายหลักของบริษัท
  2. ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณ นโยบายต่างๆ และปลูกฝังให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนถือปฏิบัติจนเป็นวัฒนธรรมของบริษัทในด้านจริยธรรมและการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  3. เสริมสร้างมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดีของคณะกรรมการบริษัท
  4. เรียกประชุมคณะกรรมการบริษัท และดูแลการจัดส่งหนังสือนัดประชุม รวมทั้งเอกสารต่างๆ เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอและทันเวลา และปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท
  5. เป็นประธานที่ประชุมผู้ถือหุ้น และควบคุมการประชุมให้เป็นไปตามข้อบังคับบริษัท และตามระเบียบวาระที่กำหนดไว้
  6. ดูแลให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกรรมการและผู้ถือหุ้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  7. เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคณะกรรมการบริษัทและฝ่ายบริหาร
  8. ปฎิบัติหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะหน้าที่ของประธานกรรมการ